ในปัจจุบันนี้มีการแนะนำให้ใช้จุลินทรีย์เติมลงไปในบ่อกันมาก จะรู้ได้อย่างไรว่าได้ผล หรือไม่

หลังจากที่มีการเลี้ยงกุ้งระบบปิดหรือถ่ายน้ำน้อยลงกันมากขึ้นเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคจากไวรัสหัวเหลืองและดวงขาว ทำให้มีการแนะนำเติมจุลินทรีย์ลงไปในบ่อเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆทำให้ใช้ระบบปิดได้นานขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นจุลินทรีย์ที่มีขายในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด ทุกบริษัทก็บอกว่าของตัวเองได้ผลดี เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งถ้าจะใช้จุลินทรีย์ชนิดใดก็ตามต้องมีการบันทึกข้อมูล และสังเกตด้วยว่าในบ่อดีขึ้นจริงหรือไม่ ก่อนและหลังจากการใช้ คุ้มค่าหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อที่ไม่ได้ใช้ ปกติในบ่อเลี้ยงกุ้งก็มีจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์อยู่แล้ว ถ้าในภาวะปกติมีการควบคุมอาหาร การจัดการที่ดีก็อาจจะไม่ต้องเติมลงไปเพิ่มเติมก็ได้ แต่บางครั้งมีการเลี้ยงกุ้งอย่าหนาแน่นการย่อยสลายตามปกติอาจไม่เพียงพอ จึงมีการเติมลงไปอีก ซึ่งต้องเข้าใจว่าจุลินทรีย์จะทำงานได้ดีต้องมีออกซิเจนมากพอ บ่อที่ออกซิเจนต่ำอยู่แล้วหรือระบบการให้อากาศไม่ดีพอเมื่อเติมจุลินทรีย์ลงไปมากๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาการขาดออกซิเจนและกุ้งลอยได้



ข้อสังเกตเบื้องต้นถ้าจุลินทรีย์ทำงานตามวัตถุประสงค์

-ขี้แดดจะลอยขึ้นมาจากพื้นมากหลังจากเติมจุลินทรีย์ลงไปมาก

-สีน้ำจะค่อยๆจางลงเนื่องจากจุลินทรีย์ไปย่อยสลายของเสียพื้นบ่อทำให้แพลงก์ตอนเพิ่มจำนวนช้าลง

-พื้นบ่อจะสะอาดขึ้นไม่มีกลิ่นเหม็น

-เปอร์เซ็นต์ของแบคทีเรียวิบริโอกลุ่มโคโลนีสีเขียว(บนอาหารเลี้ยงเชื้อTCBS)จะลดลงและวิบริโอกลุ่มโคโลนีสีเหลืองจะเพิ่มขึ้น

ขอบคุณข้อมูล Thailand

Visitors: 97,800